Slidely

Sai Sainah's Slidely by Slidely - Slideshow maker

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบก่อนเรียน

  ข้อดี ข้อเสีย ของการเปิดอาเซียน





ประวัติ ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)



อาเซียน(ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510)มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540) กัมพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน

ในเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น

ซึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (.. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558

โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม  


ข้อดี ข้อเสีย ของอาเซียน

 ข้อดี
ด้านการท่องเที่ยว

             จากประชากรที่เพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านคน จะทำให้ไทยได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประคมอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมทั้งภูมิศาสตร์ ที่ติดพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย อีกทั้งมีความพร้อมทางคมนาคมต่างๆ ทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ  มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มากมาย (สังเกตได้จาก เป็นประเทศถูกโหวตให้น่าท่องเที่ยวจากนิตยสารเเนะนำท่องเที่ยวบ่อยครั้ง) มีสาธานูปโภคที่ได้มาตราฐาน มีโรงเเรมระดับต่างๆมีอยู่มากมาย มีอาหาร วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายในสถานที่ท่องเที่ยว ชายทะเล น้ำตก ภูเขา โบราณสถาน ซึ่งเหล่านี้จะทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

                                                                     ด้านการศึกษา


       ประชากรเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ลาว พม่า เวียตนาม มาเลเซีย เเละกัมพูชาอาจมาเรียนในไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการศึกษาของประเทศไทยค่อนข้างดี หากไม่เทียบกับประเทศสิงคโปร (สังเกตได้จากประเทศไทยมักได้เหรียญทองในการเเข่งขันโอลิมปิกวิชามาอยู่บ่อยครั้ง) และไทยได้เปรียบทางภูมิศาสตร์เเละความพร้อมของมหาวิทยาลัยต่างๆมากพอสมควร ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี

ข้อเสีย
ด้านเกษตรกรรม

         ผลผลิตทางการเกษตรของไทย อาจไม่สามารถเเข่งขันกับผลผลิตทางการเกษตรของเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากการเกษตรของประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง อีกทั้งผลผลิตต่อไร่ก็มีจำนวนน้อยกว่า (ซึ่งเป็นที่ทราบกันมานาน ว่าผลผลิตต่อไร่ของข้าวไทย กับเวียตนามนั้น ประเทศเวียตนามมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่า) เนื่องจากการเกษตกรไทยมัก จ้างคนงานทำเเทนตนเอง การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้สารกำจัดวัชพืช การใช้สารเร่งผลผลิต ที่มีราคาค่อนข้างสูง  ส่วนของประเทศเพื่อนบ้านนั้น ส่วนใหญ่จะทำการเพาะปลูกเอง ไม่มีการว่าจ้างใด ใช้สารอินทรีเป็นส่วนใหญ่ เเละใช้เเรงงานจากสัตว์ เหมือน เกษตรกรรมของไทยในอดีต เครื่องจักรมีส่วนเกี่ยวข้องน้อย จึงทำให้ต้นทุนการผลิดต่ำกว่าไทยเป็นอย่างมาก 

          ด้านสาธารณสุข


     การเปิดประชาคมอาเซียน ทำให้การเข้าออกของประชากร ระหว่างประเทศสามารถทำให้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจทำให้การระบาดของโรคติดต่อต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การระบาดของเชื้อ อีโคไล ในสหภาพยุโรป (EU) เป็นต้น อีกทั้งสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้านนั้นยังขาดคุณภาพ หรือ ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจทำได้ไม่ดีพอ หรือยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้โรคที่ประเทศไทยเเทบไม่มีการระบาด กลับมาเกิดได้อีกครั้งหนึ่ง เช่น โรคหัด (Measles) โรคโปลิโอ (Poliomyelitis) เป็นต้น